วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาพแสดงมวลน้ำเหนือ รร.นรต.และพื้นที่ใกล้เคียงวันอังคารที่ 15 พย.54 เวลา 21.00 น.

ภาพแรกเป็นภาพมุมสูง  ภาพที่สองเป็นภาพระยะใกล้ จะเห็นได้ว่า มีการแสดงมวลน้ำที่  พื้นที่ด้านหลัง รร.นรต. และแนวถนนที่มุ่งไปยังด้านประตู 4
                                                                                                                        พ.ต.ท.จักรกฤช  ชูคง  รอง ผกก.ฝ่ายปกครอง 1 บก.ปค.

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ ๔ สอน นักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ ๑ - ๓


โครงการ "นรต.ทำอีเอ็มบอลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" วิดีโอสาธิตการทำอีเอ็มบอล ส่วนที่ 9

โครงการ "นรต.ทำอีเอ็มบอลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" วิดีโอสาธิตการทำอีเอ็มบอล ส่วนที่ 8

โครงการ "นรต.ทำอีเอ็มบอลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" วิดีโอสาธิตการทำอีเอ็มบอล ส่วนที่ 7

โครงการ "นรต.ทำอีเอ็มบอลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" วิดีโอสาธิตการทำอีเอ็มบอล ส่วนที่ 6

โครงการ "นรต.ทำอีเอ็มบอลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" วิดีโอสาธิตการทำอีเอ็มบอล ส่วนที่ 5

โครงการ "นรต.ทำอีเอ็มบอลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" วิดีโอสาธิตการทำอีเอ็มบอล ส่วนที่ 4

โครงการ "นรต.ทำอีเอ็มบอลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" วิดีโอสาธิตการทำอีเอ็มบอล ส่วนที่ 3

โครงการ "นรต.ทำอีเอ็มบอลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" วิดีโอสาธิตการทำอีเอ็มบอล ส่วนที่ 2

โครงการ "นรต.ทำอีเอ็มบอลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" วิดีโอสาธิตการทำอีเอ็มบอล ส่วนที่ 1

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

"อีเอ็ม" EM คืออะไร????????

EM ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganisms ซึ่งมีความหมายว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะเป็นของเหลว สีน้ำตาล กลิ่นหวานอมเปรี้ยว เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือ ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
ทั้งนี้ EM Ball ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ ทั้งซากพืช ซากสัตว์ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ประกอบไปด้วยก้อนจุลินทรีย์ธรรมชาติสามกลุ่ม คือ จุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลกติก ยีตส์ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ ช่วยย่อยตะกอนให้กลายเป็นอาหารของสัตว์เล็ก ๆ ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีในน้ำทำให้เกิดการย่อยสลายที่มากขึ้น และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ ทำให้สภาพของน้ำสมดุล

คุณสมบัติบางประการและการเก็บรักษา
1. EM เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องเก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ประมาณ 20 – 45 องศาเซลเซียส หากไม่ได้เปิดใช้เก็บไว้ได้นาน 1 ปี
2. EM ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพพัก การนำไปใช้หากเปิดใช้แล้วให้รีบปิด เก็บไว้ได้นาน 6 เดือน

จุลินทรีย์ใน EM คืออะไร
คำว่า จุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิต EM (จุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก ยีสต์ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) ผลิตจากจุลินทรีย์ธรรมชาติ ไม่มีจุลินทรีย์ก่อโรค ไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ และไม่ใช่การตัดต่อยีนส์ (GMOs) ซึ่งเป็นโทษต่อมนุษย์ สัตว์และพืช EM ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ปลอดภัยซึ่งใช้กันมาก่อนในสมัยโบราณจะโดยตั้งใจหรือ ไม่ตั้งใจก็ตาม จุลินทรีย์ใน EM มี 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

1. "จุลินทรีย์ผลิตกรดแลกติก"
เป็นจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในพวกแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยน น้ำตาลให้เป็นกรดแลคติกได้โดยผ่านกระบวนการหมัก ซึ่งกรดแลกติกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคบางชนิด และจุลินทรีย์อื่น ๆ ได้ เนื่องจากมี pH ที่ต่ำ เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่ามีการนำเอาจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกไปใช้ใน การหมักอาหารหลายชนิด เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต และสามารถเก็บไว้ได้นาน ตั้งแต่หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ค้นพบจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกในปี พ.ศ.2400 ทำให้รู้ถึงประโยชน์ของมันที่เกี่ยวกับสุขภาพและการมีอายุยืนยาว เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีงานวิจัยที่พบว่า นอกจากมันจะอยู่ที่ลำไส้เล็กของคนแล้วมันยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิต้าน ทาน มีคุณสมบัติในการต่อต้านการสูญเสียโปรตีนในเลือด ต่อต้านการกลายพันธ์ โคเลสเตอรอลในเลือดต่ำ และการมีความดันโลหิตต่ำ
2. "ยีสต์"
เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวตั้งต้นในการหมัก ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักเบียร์หรือแอลกอฮอล์ และใช้ในการทำขนมปัง ยีสต์ค้นพบโดยพ่อค้าชาวดัทช์ ชื่อ แอนโทนี แวน ลีเวนฮุค (ในปี พ.ศ.2175 -2266) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรกในโลกเรื่องจุลินทรีย์ ยีสต์ถูกจำแนกเป็นสัตว์เซลเดียว ซึ่งแตกต่างจากเชื้อราเพราะมันจะอยู่เป็นเซลเดียวไปตลอดชีวิต ในโลกของจุลินทรีย์จะมีกลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ยีสต์จะมีอยู่มากในสิ่งแวดล้อมที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำหวานจากเกสรดอกไม้ ตามผิวของผลไม้ ใน EM ยีสต์ผลิตจะสารชีวพันธ์ต่าง ๆ หรือสารที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอะมิโน และแป้ง
3. "จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"
โฟโต้ทรอปฟิคแบคทีเรีย (เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) เป็นแบคทีเรียโบราณที่เกิดมาก่อนการเกิดดาวเคราะห์โลกที่มีออกซิเจนหนา แน่นอย่างเช่นในปัจจุบัน จากชื่อของมันบ่งบอกให้รู้ว่ามันใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการย่อยสลายสาร อินทรีย์และอนินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีอยู่ตามนาข้าว ทะเลสาบ และทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ ในทางปฏิบัติจะพบจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพนี้ตามทุ่งนาเพราะมันย่อยสลาย อินทรียวัตถุได้ดี ทั้งในการบำบัดน้ำเสียมีงานวิจัยที่รายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ จุลินทรีย์นี้ ส่วนที่ใช้ในการเกษตร การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป ภายใต้สภาพที่มีการผลิตไฮโดรเจนมันสามารถย่อยสลายสารต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงร่วมอยู่ในระบบย่อยต่าง ๆ และเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรไนโตรเจนและวัฏจักรคาร์บอน เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรต่าง ๆ มันจึงทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ใน EM ได้ ดังนั้นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจึงเป็นจุลินทรีย์ที่สำคัญใน EM


พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทำน้ำยาEM

วิธีทำน้ำ EM จากเปลือกสัปปะรด

1.เปลือกสัปปะรด 3 ส่วน

2.กากน้ำตาล 1 ส่วน

3.น้ำมะพร้าวสด 1 ส่วน

4.น้ำซาวข้าว 1 ส่วน

นำมาผสมคลุกเคล้าแล้วใส่ถังพลาสติกปิดด้วยผ้าขาวบาง  ปิดไว้ 10 วัน

 

การขยาย EM

1.-หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร

2.-กากน้ำตาล 1 ลิตร

3.-น้ำสะอาด 18 ลิตร

4.-นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ในถังหมักที่สะอาดปิดฝามิดชิด ไม่ให้มีอากาศเข้า-ออก มีช่องว่างของถังหมัก 20% เป็นเวลา 7 วัน แล้วจึงนำไปใช้

 

EM หมักน้ำซาวข้าว

-น้ำซาวข้าว 1 ส่วน

-EM 1-2 ช้อนแกง

-กากน้ำตาล 1-2 ช้อนแกงหรือน้ำตาลทรายแดง

 

วิธีการทำจุลินทรีย์บอล

ส่วนผสมที่ 1

1.-รำละเอียด 1 ส่วน

2.-แกลบป่นหรือรำหยาบ 1 ส่วน

3.-ดินทราย 1 ส่วน

ส่วนผสมที่ 2

1.- EM 10 ช้อนแกง

2.- กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง

3.- น้ำสะอาด 10 ลิตร

    (ใช้ EM หมักน้ำซาวข้าวแทนส่วนผสมที่ 2 ก็ได้)